
สิ่งที่ต้องรู้เมื่อเริ่มวางแผนการเงิน
คุณเคยสงสัยมั้ยครับ ถ้าอยากจะวางแผนการเงินของตัวเองนั้น เราต้องรู้อะไรบ้าง เพื่อให้ตัวเองวางแผนได้ถูกต้อง และเหมาะสมกับเรามากที่สุด วันนี้ผมเอาเรื่องนี้มาเล่าให้ฟังครับ ตามมาอ่านกันเลยย
รู้จักนิสัยของตัวเราก่อน
ถ้าเรารู้จักตัวเราเองก่อนได้นั้นจะทำให้เราวางเป้าหมายในการวางแผนการเงินของเราได้อย่างดีเลยล่ะครับ มาดูกันครับว่ามีอะไรบ้างลองดูครับว่าแต่ละวันเราสนใจ หรืออยู่กับอะไรได้นานมากที่สุดโดยไม่เบื่อ เช่น เราชอบนอนดูซีรี่ย์ หรือชอบใช้เวลาไปกับการหาข้อมูลเรื่องเสื้อผ้าที่เราชื่นชอบ หรือค้นหาวิธีการที่จะออกกำลังกายให้ตัวเองมีหุ่นและสุขภาพดีขึ้น
- เสร็จแล้วลองดูครับว่าสิ่งที่เราหาข้อมูล หรือสิ่งที่สนใจนั้น เราลงมือทำไปจริงๆกี่เปอร์เซ็นต์ สิ่งเหล่านี้จะบ่งบอกไปถึงนิสัยในการลงมือทำของคุณ ถ้าคุณค้นพบว่าสิ่งที่คุณสนใจและลงมือทำ 80% ขึ้นไปแล้วล่ะก็ ผมยินดีด้วย คุณมาถูกทางแล้วล่ะ
ตั้งเป้าหมายชีวิตของคุณ (โดยไม่มีเงื่อนไขใดใดเลยยย)
ทำไมถึงต้องไม่มีเงื่อนไขใดใด เพราะสิ่งที่คุณจะเขียนลงไปนั้นคือความต้องการของคุณจริงๆใช่ไหมล่ะครับ แล้วทำไมถึงต้องเอากฎเกณฑ์ หรือข้อแม้อะไรมากมายมาจำกัดความต้องการหรือความฝันของเราด้วย จริงไหม
- เขียนเป้าหมายของคุณลงไปในที่ไหนสักที่ ที่คุณจะเห็นมันอยู่ตลอด ตลอดเวลาได้ยิ่งดีครับ ยกตัวอย่างเช่น เราอยากจะเกษียณอายุ ตอนอายุ 55 ปี ต้องมีเงินใช้ เดือนละ 100,000 บาท หรือ อยากไปเที่ยวต่างประเทศปีละ 2 ครั้ง ค่าใช้จ่ายต่อปี ปีละ 60,000 บาท หรือ อยากจะซื้อรถยนต์ อีก 2 ปี ข้างหน้า โดยจะดาวน์เงินสด 300,000 บาท ผ่อนอีกเดือนละ xx,xxx-
- ควรมีทั้งแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวครับ
- สังเกตไหมครับ ทุกตัวอย่าง จะระบุจำนวนเงิน ระบุระยะเวลา ระบุให้ละเอียดที่สุดเท่าที่เรานึกออกไปเลยครับ เพราะในส่วนนี้จะบอกได้ถึงความต้องการของเรา รวมไปถึงคุณภาพของสิ่งของที่อยากได้ หรือแม้กระทั่งคุณภาพชีวิตที่เราอยากมี
ลงมือเรียนรู้ และลงมือทำ
ถึงประเด็นสำคัญที่สุดจริงๆแล้วนะครับ เมื่อเราอยากกก ที่จะมีอยากกที่จะได้มา เหมือนกับตอนที่ผู้ชายหลายๆท่านอยากกที่จะจีบคุณผู้หญิงและอยากได้เค้ามาเป็นแฟน คุณก็จะต้องทำทุกวิถีทางที่จะเอาชนะใจผญ.คนนั้นใช่มั้ยล่ะ ทีนี้เราต้องเรียนรู้เรื่องอะไรกันบ้างเกี่ยวกับการวางแผนการเงินของเราเพื่อที่จะได้ไปถึงเป้าหมายนั้น
- รายรับ-รายจ่าย : เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆครับ ทำไมเราได้ยินการพูดถึงเรื่องนี้มามากมาย ทำไมคนไม่ทำ ทำไมบางคนทำแล้วก็เลิกไป เห็นมั้ยล่ะครับ นั่นคือเป้าหมาย กับ วินัย ของเรายังไม่ชัดเจน ลองอีกสักตั้งครับ สมัยนี้เทคโนโลยีล้ำไปไกล มี Application ทำรายรับรายจ่ายดีๆมากมาย(ไว้ผมจะมาแนะนำAppเหล่านี้ให้ลองศึกษากันนะครับ) ทำให้เราเห็นนิสัยการใช้เงินมากขึ้นด้วย แถมคำนวนให้เราเสร็จสรรพ แจ่มครับคนยุคนี้
- งบความมั่งคั่งสุทธิ : คือไร?? นั่นสิ เมื่อก่อนผมก็งงกับคำศัพท์ทางการเงินมากมาย แต่ถ้าเราอยากรู้จริง จริงๆมันไม่ยากเลยครับ ถ้าให้พูดเป็นภาษาชาวบ้านๆแบบผมเลยน่ะ มันคือการการระบุทรัพย์สิน และหนี้สินของเราไว้ ว่ามีเท่าไหร่ ทรัพย์สิน ณ ปัจจุบันที่มีเท่าไหร่ หลายคนอาจจะคุ้นๆกับคำว่า งบดุลในทางบัญชี และงบกระแสเงินสดครับ ที่เราควรมานั่งทำเป็นของเราเอง ทำรายงานผลประกอบการของตัวเองไปครับ เหมือนดูผลประกอบการในหุ้นเลยล่ะ สิ่งนี้จะบอกถึงความมั่งคั่งทางการเงินของตัวเราเอง หรือกำลังจะเป็นหนี้ในอนาคตได้นั่นเอง
- พีระมิดการเงิน : พีระมิดการเงินมันคือเรื่องพื้นฐานที่เราควรศึกษาครับ เพราะสิ่งนี้จะเป็นเหมือนทักษะเบื้องต้นเวลาเราหัดเล่นกีฬา เพื่อที่จะนำไปต่อยอดได้ง่ายขึ้นในอนาคตครับ
- ผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ : คนไทยส่วนใหญ่ที่ผมเคยเจอมา จะได้รับการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากพนักงานขาย ว่ามันดีอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งทุกผลิตภัณฑ์ทางการเงินมันดีหมดแหละครับ แต่คำถามก็คือว่า ตัวเราเองรู้หรือยังครับว่าควรมีเท่าไหร่ หรือควรซื้อหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพนักงานธนาคาร ชวนให้คุณฝากเงินประจำกับคุณ หรือ ขายประกันให้กับคุณ สิ่งที่ต้องนึกเสมอในใจเลยว่า เรามีพอหรือยัง หรือเราทำพอมั้ย เหมาะกับเราหรือป่าว?
- กฎหมายและภาษ๊ : เรื่องกฎหมายต่างๆ หรือเรื่องการจ่ายภาษีก็เป็นอีกส่วนนึงที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมขึ้นมาครับ แต่ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่เป็นประเด็นสำคัญอะไรมาก แต่ไม่ใช่ว่าไม่สำคัญเลยนะครับ ยิ่งเรารู้มากเท่าไหร่ โอกาสที่จะเพิ่มความมั่งคั่งทางการเงินก็มีมากขึ้นเท่านั้น ถูกต้องมั้ยครับ
เอาล่ะ ผมยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่จะเอามาเล่าให้ทุกคนฟังกันครับ สำหรับบทความนี้ผมก็ขอจบไว้เท่านี้ก่อนเนาะ จะเอาประเด็นหลายๆเรื่องมาอัพเดทให้ฟังกันอีกนะคครับ
“เรียนรู้ซีรี่ย์การเงินดีๆ กับ MONEY SERIES” ปุ่มไลค์ปุ่มแชร์อยู่ข้างๆ ถ้ามือมันว่างๆกดให้กำลังใจกันบ้างนะคร้าบบ^^